Public Relation

All-Weather Strategy ปรับกลยุทธ์ ซื้อหุ้นตลาดเกิดใหม่ เพิ่มสัดส่วนทองคำ พร้อมรับมือทุกมรสุมตลาด
23 มิ.ย. 2568

ในโลกการลงทุนที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน นักลงทุนหลายคนอาจเคยตั้งคำถามว่า “พอร์ตของเราจะรอดไหมถ้าเกิดวิกฤต?” เพื่อตอบรับความท้าทายนี้ Finnomena Funds จึงจัดงานสัมมนาพิเศษ “All-Weather Strategy Thrive in Any Market พร้อมรับมือทุกมรสุมตลาด” เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา

 

ในงานสัมมนา Andrew Stotz, CFA ได้นำเสนอพอร์ต “All-Weather Strategy (AWS)” พอร์ตการลงทุนที่ทางทีม A. Stotz จับมือร่วมกับ Finnomena Funds สรรค์สร้างขึ้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนพร้อมรับทุกฤดู ไม่ว่าตลาดจะอยู่ในสภาวะใด โดยมีหัวใจหลัก 3 อย่างคือ Global ลงทุนทั่วโลก, Long-term เน้นการเติบโตระยะยาว และ Diversified กระจายความเสี่ยงในหลากหลายสินทรัพย์และภูมิภาค สร้างพอร์ตแกร่งทุกสภาวะตลาดด้วย All Weather Strategy

 

All-Weather Strategy (AWS) ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับพอร์ตการลงทุนโดยเป็นพอร์ตการลงทุนที่มุ่งหวังเพิ่มพูนและปกป้องความมั่งคั่งระยะยาวผ่านการกระจายความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาผลตอบแทนระยะยาว โดยมีการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาด

 

จุดเด่นของพอร์ต AWS

-ผลตอบแทนโดดเด่น: พอร์ต AWS มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6% ต่อปี และนับตั้งแต่จัดตั้งพอร์ตในปี 2019 พอร์ตนี้ให้ผลตอบแทนสะสมแล้ว +52.8% สูงกว่าพอร์ต 60/40 แบบดั้งเดิมถึง 21.2% (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. 2568)* 

-ความผันผวนต่ำกว่าตลาด: ด้วยการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ทำให้พอร์ต AWS มีความผันผวนที่ต่ำกว่าตลาดโลกโดยรวม

-ปรับพอร์ตสม่ำเสมอ: ทีม A. Stotz จะทำการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตทุกไตรมาสตามสภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มตลาด ทำให้พอร์ตสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปรับพอร์ตครั้งใหญ่กลางปี รับมือโอกาสและความท้าทายที่กำลังจะมาถึง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในปี 2025 ทีมงาน A. Stotz จึงทำการปรับสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ต AWS ล่าสุด (มิถุนายน 2568) ดังนี้

 

หุ้น (Equity) – 70%

-คงสัดส่วนหุ้นยุโรป 25% และเพิ่มสัดส่วนในตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน) เป็น 25%

-ลดสัดส่วนจีนลงเหลือเพียง 5%

-คงสัดส่วนหุ้นสหรัฐฯ หุ้นญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมจีนและญี่ปุ่น) ไว้อย่างละ 5%

 

ทองคำ (Gold) – 25%

-เพิ่มสัดส่วนขึ้นจาก 5% เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากหนี้ภาครัฐที่สูงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

 

ตราสารหนี้ (Bonds) – 5%

-ลดสัดส่วนลงจาก 25% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูงตลาดโลกยังน่ากังวล แต่ยังมีโอกาสซ่อนอยู่

-สหรัฐฯ: แม้จะเป็นตลาดขนาดใหญ่ แต่ยังมีความน่ากังวลจากหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงกว่าการเติบโตของ GDP ถึงสองเท่านับตั้งแต่ปี 2000 นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และนโยบายการค้าที่ไม่แน่นอน

-จีน: เศรษฐกิจจีนยังน่ากังวล ภาวะเงินฝืดยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง แม้สงครามการค้าจะหยุดชั่วคราว แต่สถานการณ์ตอนนี้ยังคงห่างไกลกับคำว่าจบ จึงมองว่าการลงทุนในหุ้นจีนตอนนี้อาจไม่คุ้มกับความเสี่ยง

-ยุโรป: เป็นภูมิภาคที่น่าจับตา เนื่องจาก Valuation ยังถูกเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB)

-ตลาดเกิดใหม่ (ไม่รวมจีน): ได้รับอานิสงส์จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง โดยประเทศในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ซึ่งมักมีราคาอ้างอิงเป็นดอลลาร์ เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสกุลเงินท้องถิ่นจะสูงขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออกและกระตุ้นเศรษฐกิจ

-เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่นและจีน): ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอาจทำให้บริษัทต่าง ๆ ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศในเอเชียที่อยู่นอกประเทศจีน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกสำหรับภูมิภาคนี้ และแม้ว่าภูมิภาคนี้จะมีความท้าทายจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศในกลุ่มนี้

-ทองคำ: ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยมหภาคสำคัญ เช่น หนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น และความต้องการทองคำจากธนาคารกลางทั่วโลก ทองคำจึงยังคงทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ของพอร์ตที่ช่วยลดความเสียหายในยามวิกฤต

 

Andrew Stotz เน้นย้ำว่า “การลงทุนระยะยาวที่ยั่งยืน ไม่ได้หมายถึงการเอาชนะตลาดทุกปี แต่คือการเอาตัวรอดจากช่วงตลาดขาลง และเดินหน้าต่อได้เมื่อโอกาสกลับมา” AWS จึงไม่ได้เน้นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่เน้นการลงทุนที่ลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง

Copyrights © 2021 All Rights Reserved by Clubhoon.com