ตลาดหลักทรัพย์ ชี้ต้นปีหุ้นไทยสะดุดนโยบายภาษีของนายทรัมป์อึมครึม เชื่อหลังฝุ่นตลบ บวกนโยบาย Jump+ เพิ่มแวลู บจ. เรียกความเขื่อมั่นกลับคืนตลาด เปิดจุดแข็งบจ.แกร่ง ผลตอบแทนบวก กำไร-ROE สูง D/E ต่ำ จัดพอร์ตเติมหุ้นไทยได้ แนะเกาะติด ‘ปัจจัยเสี่ยงสหรัฐ’ ใกล้ชิด กดดันเงินต่างชาติไหลออก
นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในปี 2568 ว่า ไตรมาสแรกปีนี้ ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญกับภาวะฝุ่นตลบจากปัจจัยต่างประเทศเรื่องนโยบายการค้าระหว่างประเทศของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีความชัดเจนโดยเฉพาะประเด็นการจัดเก็นภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ และการปรับทิศทางการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว ดังนั้น จึง ยังต้องรอช่วงหลังฝุ่นตลบจากสหรัฐหมดไป นักลงทุนต่างชาติจึงจะหันมามองตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง ซึ่งปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์มีแผนทำโครงการ Jump + เป็นสตอรี่ที่จะช่วยให้บริษัทจดทะเบียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถือเป็นไฮไลท์ของตลาดหลักทรัพย์
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์ GDP ของโลกในปี 2568 ลงเล็กน้อย จากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการแยกตัวทางเศรษฐกิจ (Decoupling) อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับความผันผวนและการเติบโตช้าลง สอดคล้องกับมุมมองธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ประชุมเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2567 แม้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 4.25-4.50% แต่ส่งสัญญาณว่าในปี 2568 การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอาจจะไม่ง่ายนัก ทำให้ตลาดหุ้นกลับตอบสนองในเชิงลบในระยะสั้น
“เปิดต้นปีมา(2-7 ม.ค.) ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิกว่า 2 พันล้านบาท แต่อย่าเพิ่งวางใจเพราะยังมีนโยบายทรัมป์ ที่ต้องติดตามอยู่และนโยบายดอกเบี้ยของเฟดที่อาจไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว เว้นแต่เฟดจะมีการปรับลดดอกเบี้ยแรง 0.50% อย่างไรก็ตาม ปีที่แล้ว หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวบดบงค่อนข้างมาก แม้ว่าผลประกอบการและสถานะทางการเงินไม่ไดเเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดมีจำนวนหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนเป็นบงก 24% และ บจ. กว่า 70% มีกำไรสุทธิ ขณะที่มี บจ. 30% มีROE สูงกว่า 10% นอกจากนี้ บจ.กว่า 71%มีอัตราหนี้สินต่อทุน ต่ำกว่า 1.5 เท่าและหลักทรัพย์ของ บจ. ประมาณครึ่งหนึ่งมี P/E ต่ำกว่า 20 เท่า หุ้นไทยมีปัจจัยบวกที่แข่งภูมิภาคได้ อย่างสภาพคล่องเราดีกว่า บางเช็คเตอร์ของไทยเป็นแชมป์เปี้ยน เช่น หุ้นโรงพยาบาล สุขภาพ ซึ่งมีจำนวนเยอะสุดในภูมืภาคนี้ ผลดำเนินงานด้านความยั่งยืนก็อยู่อันดับต้นๆ MSCI และดัชนี DJSI เชื่อว่าหากผลดำเนินงานกลับมาและหลังฝุ่นตลบทรัมป์หาย ก็จะทำให้หุ้นไทยกลับมา อย่างไรก็ตาม หุ้นไทยสามารถเพิ่มสัดส่วนลงทุนตลาดหุ้นไทยวำกรับ Passive Fund (กองทุนที่เน้นลงทุนระยะยาว)”
ทั้งนี้ ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย ปี 2567 SET Index ปิดที่ 1,400.21จุด ปรับลดลงเพียง 1.1% จากต้นปี ส่วนมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 46,551 ล้านบาท ลดลง 12.7% จากปีก่อน โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.47 แสนล้านบาท ขณะที่ Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ระดับ 16.0 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.8เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 18.8 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 14.6 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน อยู่ที่ระดับ 3.45% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.17%
อย่างไรก็ตาม ดร.ศรพล กล่าวว่า SET Index ในปี 2567 ปิดในระดับที่แทบไม่แตกต่างจากปีก่อนหน้า โดยตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี นอกจากนั้นนักวิเคราะห์ยังประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 และปี 2568 ยังสามารถขยายตัวได้ดี นำโดยภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่อาจเผชิญความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น ทั้งนี้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร แถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบ 3เดือน และมอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้แคมเปญ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง 2025 Empowering Thais: A Real Possibility” โดยแบ่งนโยบายออกเป็น 2 กลุ่มหลัก รวม 11 นโยบาย ซึ่งน่าจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อหุ้นในหลาย Sector ที่เกี่ยวข้อง